วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2553

ส.13 หน้าที่ของเครื่องขยายเสียง

หน้าที่ของเครื่องขยายเสียง ถ้าเปรียบเทียบ ก็เหมือนกับปั๊มน้ำ คือมีหน้าที่ปั๊มให้น้ำทางด้านอินพุทที่ไหลเข้ามา ออกไปทางด้านเอาท์พุท ด้วยความแรงและเร็ว เช่นเดียวกัน สำหรับเครื่องขยายเสียง มันมีหน้าที่ปั๊มให้กระแสไฟฟ้าที่ไหลเข้ามา ออกไปทางด้านเอาท์พุท ด้วยความแรงและเร็วเครื่องขยายเสียงจะขับดันสัญญาณด้านเอาท์พุท ตามสัญญาณด้านอินพุท เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นเราจะแบ่งวงจรเครื่องขยายเสียงออกเป็น 2 ส่วน วงจรส่วนที่หนึ่งคือ วงจรทางเอาท์พุท ได้รับพลังงานจากแบตเตอรี่ หรือจากแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรง ถ้าเราใช้วิธีเสียบปลั๊กไฟที่บ้าน ไฟที่ได้เป็นไฟกระแสสลับ จะต้องแปลงไฟเป็นไฟตรงก่อนจึงจะป้อนให้กับวงจรเครื่องขยายเสียงได้วงจรส่วนที่สองคือ วงจรอินพุท ซึ่งจะรับสัญญาณไฟฟ้าจากเทปหรือเครื่องเล่นซีดี ดีวีดี แผ่นเสียง และไมโครโฟน สัญญาณที่เข้ามายังเป็นลูกคลื่นลูกเล็กๆ ไม่สามารถนำไปขับออกทางลำโพงได้ อย่างไรก็ตามถ้านำหูฟัง ไปต่อไว้ สามารถได้ยินเสียงเบาๆ แต่เมื่อนำสัญญาณนี้ผ่านเข้าเครื่องขยายเสียงจะถูกขยายให้มีขนาดมากขึ้น สามารถนำไปขับออกทางลำโพงได้

แนวคิดพื้นฐานของเครื่องขยายเสียง สัญญาณไฟฟ้าด้านเข้าจะถูกขยายให้มีขนาดเพิ่มขึ้น ขับออกทางลำโพงสำหรับเครื่องขยายเสียงทั่วๆไป มักจะมีภาคขยายสัญญาณ ก่อนจะเข้าเครื่องขยายเสียง เราเรียกภาคนี้ว่า ภาคปรีแอมป์พลิฟลายเออร์ (Pre- amplifier) ซึ่งจะทำงานเหมือนกับภาคแอมพลิฟลายเออร์ทุกประการเพียงแต่สัญญาณขยายอ่อนกว่า เพื่อไม่ให้ขยายสัญญาณผิดเพี้ยน ดังนันเครื่องขยายเสียงราคาแพง จะมีภาคปรีแอมป์ หลายช่วงก่อนที่จะขยายเสียงออกทางลำโพง ทำให้ได้สัญญาณออกมาแรง และเหมือนกับสัญญาณขาเข้าทุกประการ หรือถ้าปรับแต่ง อาจจะไพเราะกว่าเสียงจริงก็ได้ พวกนักร้องคาราโอเกะนิยมมากทั้งๆที่เสียงขาเข้าอาจจะฟังไม่ค่อยไพเราะนัก แต่พอผ่านการปรับแต่ง กลายเป็นเสียงนักร้องซีดีทองคำก็เป็นได้คุณลองเปิดเข้าไปดูข้างในของเครื่องขยายเสียง คุณจะได้เห็นอุปกรณ์ทางไฟฟ้ามากมายลายตาไปหมด เช่น ตัวเก็บประจุ ตัวต้านทาน และทรานซิสเตอร์ แน่นอนถ้าคุณไม่เข้าใจ คุณจะทึ่ง และตื่นเต้น ว่าทำได้อย่างไร อย่างไรก็ตามถ้าคุณเข้าใจหลักการพื้นฐาน คุณจะเห็นอุปกรณ์เหล่านั้นไม่ได้แตกต่างกับวาวล์ หรือปั๊มน้ำเลย

ภายในเครื่องขยายเสียง คุณจะได้เห็นอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์มากมาย บริเวณที่แสดงลูกศรชี้ เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญสุด เรียกว่าทรานซิสเตอร์ เปรียบเทียบได้กับปั๊มน้ำ ดังนั้นส่วนนี้จึงเกิดความร้อนสูงต้องมีตัวระบายความร้อน ทำด้วยแผ่นโลหะ เรียกว่า ฮีทซ์ซิงค์ (Heat Sink)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น