วันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ส.9 PIONEER DVH-P4150UB

PIONEER DVH-P4150UB



รูปลักษณ์ที่ดูสวยงามของ DVH-P4150UB โดดเด่นด้วยหน้าปัดสไตล์ Flipdown ควบคุมการทำงานด้วยระบบกลไก

กลุ่มผลิตภัณฑ์วิทยุซิงเกิ้ล ดีวีดี เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีการแข่งขันสูงไม่แพ้กลุ่มวิทยุซิงเกิ้ล ซีดี เนื่องจากลักษณะการใช้งานระบบความบันเทิงในยุคปัจจุบัน สำหรับกลุ่มที่เน้นการเล่นแบบแยกชิ้น ส่วนใหญ่จะหันมาใช้วิทยุซิงเกิ้ล ดีวีดี จับคู่กับจอภาพรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ตรงกับความต้องการในการใช้งาน โดยระดับงบประมาณไม่บานปลายจนเกินไป กับอีกกลุ่มหนึ่ง คือการเลือกใช้เครื่องเล่นดีวีดีแบบมีจอภาพในตัว

ในแง่การแข่งขันของวิทยุซิงเกิ้ล ดีวีดี เอง นอกจากจะมีกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องเล่นดีวีดี แบบมีจอภาพในตัวประเภท POP UP และ 2 DIN เป็นคู่เปรียบมวยแล้วนั้น ในกลุ่มของคู่แข่งพิกัดเดียวกัน ที่คู่คี่ สูสีและสร้างสีสันก็คือกลุ่มวิทยุซิงเกิ้ล ดีวีดี จากจีน ที่โดดเด่นทั้งเรื่องสนนราคาและฟังก์ชั่นอำนวยความสะดวกที่หลากหลาย
PIONEER เองสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ วิทยุซิงเกิ้ล ดีวีดี ด้วยการปรับโฉมให้ดูโฉบเฉี่ยว และเพิ่มเติมเขี้ยวเล็บการทำงานให้กับตัวเครื่องเพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยอาศัยความแข็งแกร่งของตรายี่ห้อสินค้าในการสร้างโอกาสการแข่งขันทางการตลาดเพิ่มมากขึ้นดังเช่น DVH-P4150UB ที่นำมาทดสอบในครั้งนี้ ซึ่งได้รับการออกแบบรูปลักษณ์ที่ดูโฉบเฉี่ยวสวยงาม พร้อมฟังก์ชั่นอำนวยความสะดวกในการใช้งานที่พร้อมมูล

โดดเด่นตั้งแต่บรรจุภัณฑ์การออกแบบกล่องบรรจุภัณฑ์ของวิทยุซิงเกิ้ล ดีวีดี รุ่นนี้ มีความสะดุดตาตั้งแต่ตัวกล่องบรรจุภัณฑ์ สำหรับแฟนPIONEER จะค่อนข้างคุ้นเคยกับแนวทางการออกแบบกล่องบรรจุภัณฑ์ในลักษณะนี้อยู่แล้ว ด้วยการใช้โทนสีแดง เน้นรูปลักษณ์ด้านหน้าของตัวเครื่องที่ดูโฉบเฉี่ยว


ด้านข้างกล่อง มีรายละเอียดชื่อรุ่นและรูปผลิตภัณฑ์

ภายในออกแบบเน้นความปลอดภัยระหว่างขนย้ายจุดเด่นอีกประการหนึ่งของการออกแบบตัวกล่องบรรจุภัณฑ์ของ เครื่องรุ่นนี้ คือโครงสร้างภายในตัวกล่อง ได้รับการออกแบบให้มีโฟมฉีดขึ้นรูปประกบด้านข้างทั้ง 2 ฝั่งของตัวเครื่อง เพื่อป้องกันการกระแทกระหว่างการขนย้ายเครื่อง ไม่ให้เครื่องเกิดความเสียหาย ทั้งภายนอกและชุดกลไกขับเคลื่อนแผ่นภายในตัวเครื่อง ทำให้เชื่อมั่นได้ในความเสถียรในการทำงานของตัวเครื่อง


เปิดฝากล่องขึ้นจะพบกับอุปกรณ์มาตรฐานประจำเครื่อง
อุปกรณ์มาตรฐานครบครันอุปกรณ์มาตรฐานประจำเครื่อง PIONEER ให้มาค่อนข้างพร้อมมูล เมื่อเปิดกล่องใส่เครื่องจากฝาด้านบนจะพบกับกล่องสำหรับใส่หน้าปัดเครื่อง และชุดสายไฟ ตลอดจนรีโมทคอนโทรลไร้สาย ที่คุ้นตาสำหรับนักเล่น คาร์ เอ/วี รวมถึงคู่มือใช้งานเครื่อง หลากหลายภาษา


รีโมทคอนโทรลมาตรฐานประจำเครื่องเป็นรีโมท เอ/วี มัลติฟังก์ชั่น

รีโมทคอนโทรลไร้สายมัลติฟังก์ชั่นจัดว่าครบเครื่องในการใช้งานเมื่อPIONEER ใจป้ำนำรีโมทคอนโทรลไร้สายรุ่น CXE1474 ที่ออกแบบสำหรับการใช้ควบคุมสั่งการอุปกรณ์คาร์ เอ/วี ของPIONEER ได้ครบวงจร เพราะรีโมทคอนโทรลรุ่นนี้ ถ้าพิจารณาจากรูปภาพจะเห็นว่าเป็นรีโมทคอนโทรลมาตรฐานของPIONEER ที่ออกแบบสำหรับ ผลิตภัณฑ์คาร์ เอ/วี กลุ่มดีวีดี รีซีฟเวอร์ขนาด 1 DIN POP UP และ 2 DIN ทำให้ความสามารถในการ ควบคุมสั่งการทำได้หลากหลาย เรียกว่า ซื้อวิทยุดีวีดี รุ่นนี้ไปแล้ว อนาคตถ้าขยายระบบและเลือกใช้อุปกรณ์คาร์ เอ/วี ที่เป็นชุดมาตรฐานของ PIONEER ก็จะง่ายต่อการควบคมสั่งการการทำงานระบบโดยรวมมากยิ่งขึ้น



สรุป
DVH-P4150UB เป็นวิทยุซิงเกิ้ล ดีวีดี ระดับ Entry Level ที่มีความครบเครื่องในการใช้งาน ทั้งดูหนัง ฟังเพลง แต่โดดเด่นที่สุดคือ การดูหนังที่ให้ทั้งรายละเอียดภาพที่คมชัด สีสันสมจริง แถมการฟังเพลงก็ทำได้ดี จึงเหมาะสำหรับนักเล่นเครื่องเสียงรถยนต์ที่ต้องการวิทยุซิงเกิ้ล ดีวีดี ที่ให้ความพร้อมสรรพและครบเครื่องในการใช้งานในสนราคาที่ย่อมเยา

วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ส.8 เครื่องรับวิทยุ FM




เครื่องรับวิทยุ FM

เครื่องรับวิทยุแบบ FM ในปัจจุบันนี้เป็นแบบ ซุปเปอร์เฮท หรือเรียกชื่อให้เต็มในภาษาอังกฤษว่า ซุปเปอร์เฮทเทอโรดาย (Superheterodyne) โดยรับคลื่นที่มีขนาด 88 – 108 MHz. หลักการโดยทั่วๆ ไปก็เหมือนกับเครื่องรับวิทยุ AM อย่างไรก็ตาม เครื่องรับแบบ FM นั้น มีข้อแตกต่างและสาระสำคัญปลีกย่อยแตกต่างกว่าเครื่องรับ AM อยู่มาก

การทำงานของแต่ละภาคจะอธิบายได้ดังนี้

1. สายอากาศ (Antenna) จะทำหน้าที่รับสัญญาณคลื่นวิทยุที่ส่งจากสถานีต่างๆ เข้ามาทั้งหมดโดยไม่จำกัดว่าเป็นสถานีใด ถ้าสถานีนั้นๆ ส่งสัญญาณมาถึง สายอากาศจะส่งสัญญาณต่างๆไปยังภาค RF โดยส่วนใหญ่สายอากาศของเครื่องรับวิทยุ FM จะเป็นแบบไดโพล (Di-Pole) ซึ่งเป็นสายอากาศแบบสองขั้ว จะช่วยทำให้การรับสัญญาณดียิ่งขึ้น

2. ภาคขยาย RF (Radio Frequency Amplifier) จะทำงานเหมือนกับเครื่องรับวิทยุ AM คือจะทำหน้าที่รับสัญญาณวิทยุในย่าน FM 88 MHz. – 108 MHz. เข้ามาและเลือกรับสัญญาณ FM เพียงสถานีเดียวโดยวงจรจูนด์ RF และขยายสัญญาณ RF นั้นให้แรงขึ้น เพื่อให้มีกำลังสูง เหมาะที่จะส่งไปบีท (Beat) หรือผสมในภาคมิกเซอร์ (Mixer) โดยข้อแตกต่างสำคัญของภาคขยาย RF ของเครื่งรับ AM และ FM คือ วิทยุ FM ใช้ความถี่สูงกว่า AM ดังนั้นการเลือกอุปกรณ์มาใช้ในวงจรขยายจะต้องหาอุปกรณ์ที่ให้การตอบสนองความถี่ในย่าน FM ได้ และต้องขยายช่องความถี่ที่กว้างของ FM ได้


3. ภาคมิคเซอร์ (Mixer) จะทำงานโดยจะรับสัญญาณเข้ามาสองสัญญาณ ได้แก่สัญญาณ RF จากภาคขยาย RF และสัญญาณ OSC. จากภาคโลคอลออสซิลเลเตอร์ เพื่อผสมสัญญาณ (MIX.) ให้ได้สัญญาณออกเอาท์พุตตามต้องการ สัญญาณที่ออกจากภาคมิกเซอร์มีทั้งหมด 4 ความถี่ คือ
a) ความถี่ RF ที่รับเข้ามาจากวงจรจูน RF (RF)
b) ความถี่ OSC. ที่ส่งมาจากภาคโลคอล ออสซิลเลเตอร์ (OSC.)
c) ความถี่ผลต่างระหว่าง OSC. กับ RF. จะได้เป็นคลื่นขนาดกลางหรือที่เรียกว่า IF (Intermediate Frequency) ได้ความถี่ 10.7 MHz.
d) ความถี่ผลบวกระหว่าง OSC. กับ RF
ความถี่ที่วงจรจูนด์ IF ให้ผ่านมีความถี่เดียว คือความถี่ IF เท่ากับ 10.7 MHz. ไม่ว่าภาคขยาย RF จะรับความถี่เข้ามาเท่าไรก็ตาม และภาค OSC. จะผลิตความถี่ขึ้นมาเท่าไรก็ตาม เมื่อเข้าผสมกันที่ภาคมิกเซอร์แล้วจะได้ความถี่ IF เท่ากับ 10.7 MHz. ออกเอาท์พุตเสมอ

4. ภาคโลคอล ออสซิลเลเตอร์ (Local Oscillator) ทำงานเหมือนกับเครื่องรับวิทยุ AM คือ ผลิตความถี่ที่มีความแรงคงที่ขึ้นมา ความถี่ที่ผลิตขึ้นจะสูงกว่าความถี่ที่วงจรจูนด์ RF รับเข้ามาเท่ากับความถี่ IF คือ 10.7 MHz. เช่น วงจรจูนด์ RF รับความถี่เข้ามา 100 MHz. ความถี่ OSC. จะผลิตขึ้นมา 100 MHz. + 10.7 MHz. = 110.7 MHz.
ความแตกต่างของภาคนี้ระหว่างวิทยุ AM และ FM อยู่ที่วงจรเรโซแนนท์ที่กำเนิดความถี่ขึ้นมาต่างกัน ทำให้ L, C ที่ใช้ใน FM จะใช้ค่าน้อยกว่าของ AM และการกำเนิดความถี่ OSC. ของวิทยุ FM จะต้องมีวงจร AFC (Automatic Frequency Control) มาคอยควบคุมเพื่อควบคุมให้ความถี่ OSC. กำเนิดขึ้นมา เมื่อผสมกับความถี่ RF แล้วได้ความถี่ IF 10.7 MHz. ที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงตามสัญญาณเสียงที่ผสมมา ในระบบการผสมคลื่นแบบ FM ความถี่ IF จะเพิ่มขึ้นเมื่อมีสัญญาณเสียงช่วงบวกผสม และจะลดลงเมื่อสัญญาณเสียงช่วงลบผสม ดังนั้นวงจร OSC. จะต้องมีความถี่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อความถี่ RF ที่รับเข้ามามีสัญญาณเสียงช่วงบวกผสม และจะลดลงเล็กน้อยเมื่อความถี่ RF ที่รับเข้ามามีสัญญาณเสียงช่วงลบผสม เมื่อผสมสัญญาณที่ภาคมิกเซอร์จึงได้ IF ที่ถูกต้อง AFC ดังกล่าวจะถูกส่งมาจากภาคดีเทคเตอร์ และจะทำงานโดยอัตโนมัติ


5. ภาคขยาย IF (Intermediate Frequency Amplifier) จะทำหน้าที่เหมือนเครื่องรับวิทยุ AM และยังสามารถขยายความถี่ IF ทั้งของ AM และ FM ได้ ในเครื่องรับวิทยุบางรุ่นที่มีทั้ง AM และ FM ในเครื่องเดียวกัน อาจใช้ภาคขยาย IF ร่วมกันทั้งวิทยุ AM และวิทยุ FM คือขยายความถี่ IF ให้มีระดับความแรงมากขึ้นแบบไม่ผิดเพี้ยน โดยภาคขยาย IF ของคลื่น FM นั้นขยายความถี่ได้ตลอดย่าน 10.7 MHz. นับว่ามีความถี่สูงกว่าเครื่องรับ AM ซึ่งโดยปกติเครื่องรับแบบ AM มีความถี่เพียง 455 kHz. เท่านั้น ส่วนที่แตกต่างกันระหว่าง IF ของ AM และ FM คือ ในส่วนวงจรจูนด์ IF เพราะใช้ความถี่ไม่เท่ากัน ค่าความถี่เรโซแนนท์ต่างกัน การกำหนดค่า L, C มาใช้งานต่างกัน


4. ภาคดีเทคเตอร์ (Detector) ดีเทคเตอร์ของเครื่องรับ FM นั้นมีความแตกต่างกับเครื่องรับ AM ทั้งนี้เพราะวิธีผสมคลื่นของสถานีส่งทั้งสองแบบนี้ไม่เหมือนกัน โดยภาคดีเทคเตอร์ทำหน้าที่แยกสัญญาณเสียงออกจากความถี่ IF แต่จะแตกต่างกันในระบบการแยกเสียง เพราะในระบบ AM สัญญาณเสียงถูกผสมมาทางความสูงของคลื่นพาหะ สามารถแยกได้โดยใช้ไดโอดหรือทรานซิสเตอร์ร่วมกับ R, C ฟิลเตอร์ก็สามารถตัดความถี่ IF ออกเหลือเฉพาะสัญญาณเสียงได้ ส่วนในระบบวิทยุ FM สัญญาณเสียงจะผสมกับพาหะ โดยสัญญาณเสียงทำให้คลื่นพาหะเปลี่ยนความถี่สูงขึ้นหรือต่ำลง ส่วนความแรงคงที่ ไม่สามารถใช้วิธีการดีเทคเตอร์แบบ AM ได้ ต้องใช้วิธีพิเศษ เช่น ดิสคริมิเนเตอร์ (Discriminator), เรโชดีเทคเตอร์ (Ratio Detector), เฟส ล็อค ลูป ดีเทคเตอร์ (Phase Lock Loop Detector) เป็นต้น จะแตกต่างจากของ AM โดยสิ้นเชิง
ในส่วนดีเทคเตอร์นี้จะมีสัญญาณถูกส่งออกสองทาง คือ ทางหนึ่งส่งต่อไปภาคขยายเสียง อีกทางหนึ่งจะถูกผ่านชุดฟิลเตอร์อีกครั้งหนึ่ง เพื่อแปลงสัญญาณเสียงเป็นแรงไฟ DC เพื่อส่งย้อนกลับมาควบคุมวงจรกำเนิดความถี่ OSC. เป็นแรงไฟ AFC.

7. ภาคขยายเสียง (Audio Frequency Amplifier) ใช้งานร่วมกับของเครื่องรับวิทยุ AM ได้ เพราะทำหน้าที่ขยายเสียงที่ส่งมาจากภาคดีเทคเตอร์ ให้มีระดับความแรงมากขึ้นแบบไม่ผิดเพี้ยนพอที่จะไปขับลำโพงให้เปล่งเสียงออกมา โดยในเครื่องรับวิทยุบางแบบอาจมีภาคขยายเสียงในตัว แต่บางแบบอาจจะไม่มีเครื่องขยายเสียงในตัว แต่จะมีอยู่ต่างหาก เครื่องรับวิทยุที่มีเครื่องขยายเสียงภายนอกเรียกว่า จูนเนอร์ (Tunner)

8. ภาคจ่ายกำลังไฟ (Power Supply) ทำหน้าที่จ่ายแรงดันไฟ DC เลี้ยงวงจรของเครื่องรับวิทยุ FM ซึ่งจะต้องใช้วงจรเรกกูเลเตอร์ (Regulator) ควบคุมแรงดันไฟ DC ให้คงที่เพื่อเลี้ยงวงจร ทำให้คุณภาพของเครื่องรับวิทยุ FM ดีขึ้น

ภาคฟร้อนท์เอนด์ (Front End)

ในเครื่องรับ FM นั้น ทางด้านฟร้อนท์เอนด์เกี่ยวเนื่องกับคลื่นที่มีความถี่สูงมากที่เรียกว่า VHF หรือที่เกี่ยวกับ UHF ได้แก่ภาคขยาย RF, มิกเซอร์ และโลคอลออสซิลเลเตอร์

หน้าที่สำคัญของ ฟร้อนท์เอนด์ มีดังนี้
ก. เลือกสถานีใดสถานีหนึ่งที่ผู้ฟังต้องการจะหมุนหน้าปัด เครื่อง FM เกือบทุกเครื่องมีภาคขยาย RF จึงมีความสามารถในการแยกสถานี (Selectivity)ได้ดีและไวต่อการรับ (Sensitivity)
ข. เปลี่ยนสัญญาณของสถานีให้เป็นคลื่น IF ซึ่งมีความถี่เท่ากับ 10.7 MHz.


ภาคโลคอลออสซิลเลเตอร์ จะประกอบด้วยส่วนประกอบของวงจร 3 วงจร คือ ภาคกำเนิดความถี่หรือจูนด์ OSC. จะกำเนิดความถี่ขึ้นมาสูงกว่าความถี่ที่รับเข้ามาจากภาคจูนด์ RF เท่ากับความถี่ IF (10.7 MHz.) เช่น จูนด์ RF รับความถี่ของสถานี FM ที่ความถี่ 90 MHz. ภาคจูนด์ OSC. จะกำเนิดความถี่ขึ้นมา 100.7 MHz. (90 MHz. + 10.7 MHz. = 100.7 MHz.) ส่งผ่านความถี่ OSC. ไปเข้าวงจรขยายความถี่ OSC. วงจรขยายความถี่ OSC. จะส่งสัญญาณออกสองทาง คือ ทางหนึ่งไปเข้าวงจรมิกเซอร์ อีกทางหนึ่งไปเข้าวงจรป้อนกลับทางบวก (Positive Feedback) มากระตุ้นวงจรจูนด์ OSC. ให้กำเนิดความถี่ขึ้นมามีระดับความแรงคงที่สม่ำเสมอ และส่งผ่านภาคขยายออกไปเข้าภาคมิกเซอร์
ภาคมิกเซอร์จะรับสัญญาณเข้ามาสองทาง คือความถี่ RF จากวงจรจูนด์ RF และความถี่ OSC. จากภาค OSC. เข้ามาผสมกันได้สัญญาณออกสี่สัญญาณ คือ
1. ความถี่ RF 90 MHz.
2. ความถี่ OSC. 100.7 MHz.
3. ความถี่ OSC. – RF = 100.7 MHz. – 90 MHz. = 10.7 MHz
4. ความถี่ OSC. + RF = 100.7 MHz. + 90 MHz. = 190.7 MHz.
สัญญาณความถี่ทั้งสี่จะถูกส่งไปเข้าวงจรจูนด์ IF 1 ถูกกำหนดให้ตอบสนองความถี่ที่ความถี่ IF คือ 10.7 MHz. จึงกรองผ่านเฉพาะความถี่ IF ส่งต่อไปภาคขยายความถี่ IF ต่อไป




วันพุธที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ส.7 เครื่องรับวิทยุ AM

เครื่องรับวิทยุ AM แบบ Superheterodyne วิทยุกระจายเสียงแบบ AM จะ มีช่วงความถี่อยู่ที่ประมาณ 535 KHz - 1,605 KHz แต่ละ สถานีจะมี Bandwidth ประมาณ 10 KHz ความถี่ IF เท่ากับ 455 KHz







AM radio is broadcast on several frequency bands วิทยุกระจายเสียงระบบ AM ส่งออกอากาศ ด้วยหลายช่วงความถี่วิทยุคลื่นยาว หรือ Long wave ,LW ออกอากาศที่ความถี่ 153 kHz–279 kHz สถานีจะมี Bandwidth ประมาณ 9 KHz วิทยุคลื่น ปานกลาง หรือ Medium wave , MW ออกอากาศที่ความถี่ 535 kHz–1,605 kHz. แต่ละ สถานีจะมี Bandwidth ประมาณ 10 KHz วิทยุคลื่นสั้น หรือ Short wave , SW ออกอากาศที่ความถี่ 2.3 MHz – 26.1 MHz โดยจะแบ่งออกเป็น 15 ช่วงความถี่ย่อย แต่ละ สถานีจะมี Bandwidth ประมาณ 5 KHz ช่วงความถี่นี้จะเดินทางได้ไกล ที่สุด

ตัวอย่างเครื่องรับ วิทยุคลื่นสั้น RF Amplifier ทำหน้าที่ขยายสัญญาณวิทยุที่รับเข้ามาจากสายอากาศ ในส่วนนี้จะมีวงจร Tune เลือกรับมาเฉพาะ ความถี่ช่วง 535 KHz - 1,605 KHz




สายอากาศของเครื่องรับวิทยุแบบ AM

ส.5 ความแตกต่างของระบบคลื่น F.M.กับ A.M.


ในการส่งของเครื่องส่งวิทยุ (Tranmitter) อันเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่ง ซึ่งสร้างคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่คงตัว แล้วส่งผ่านอากาศและเดินไประยะไกลๆนั้น เมื่อเสียงที่เพิ่มจากกำลังแล้วมาจากห้องส่งไปยังเครื่องส่ง จะส่งมาในรูปของแม่เหล็กไฟฟ้าไปยังจุดหมายปลายทาง คือ สายอากาศของเครื่องรับวิทยุและในเครื่องรับวิทยุก็มีกลไกหนึ่งชื่อว่า Tuner คือสามารถทำเสียงให้เกิดขึ้นได้หลังจากที่คลื่นได้เดินทางมาพบกับเสาอากาศและมายังเครื่อง Tuner เมื่อถูกปรับให้ได้คลื่นเสียงที่มีความถี่เหมาะสม Tuner ก็จะรับคลื่นแม่เหล็กอันนั้นไว้ แล้วมาแยกคลื่นเสียงที่อาศัยมาส่งเข้าเครื่องขยายและลำโพงออกมาเป็นเสียงดังเดิมซึ่งก็มีสองวิธีด้วยกัน
1) Amplitude Modulation หรือระบบ A.M.อันเป็นการผสมคลื่นทางช่วงสูง
2) Frequency Modulation หรือระบบ F.M. อันเป็นการผสมความถี่ระบบ
A.M. (Amplitude Modulation) ใช้กับวิทยุทั่วๆไปนั้น คลื่นเสียงสามารถเดินทางเป็นระยะไกลๆได้ ถูกส่งไปด้วยกำลังที่แรงพอ แต่เสียงถูกตัดด้วยความถี่5,000 C.P.S. = (Cycle per Second) อันหมายถึงความสั่นต่อวินาที
F.M.(Frequency Modulation )ส่งกระจายเสียงด้วยระบบที่สูงกว่า เสียงจะไม่ถูกรบกวนและมีช่วงความถี่สูงถึง 15,000 c.p.s.= (Cycle per second) แต่ระยะการรับฟังได้อยู่ในขอบเขตของแนวสายตา (Line of Sight) เหมือนกับโทรทัศน์ในปัจจุบัน




ส.4 ประวัติวิทยุ



ประวัติของวิทยุความเป็นมาของวิทยุนั้นเริ่มตั้งแต่ Whetstone ได้คิดสัญญาณทางไกลโดยอาศัยแม่เหล็กไฟฟ้า เมื่อ ค.ศ. 1836 ต่อมาเมื่อปีค.ศ. 1944 Samual Morse ได้คิดเครื่องส่งรหัสทางเครื่องส่งสัญญาณทางไกลแม่เหล็กไฟฟ้า (หรือเรียกว่าโทรเลข) จากWashington และ Boltimore ได้สำเร็จความจริงแล้วนั้นการค้นคว้าของ Morseได้สำเร็จเรียบร้อยตั้งแต่ปี ค.ศ. 1832 แต่เกิดอุปสรรคในการเผยแพร่และคุณภาพยังไม่ดีพออย่างไรก็ตาม James Clerk Maxwell ชาวอังกฤษได้พบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเมื่อ ค.ศ.1864 และต่อมาได้มีนักวิทยาศาสตร์ที่สนใจได้ค้นคว้าเพิ่มเติมและเอาคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในอากาศมาใช้งานต่อมาชาวแฮมเบริก เยอรมันตะวันตกชื่อ Hertz ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ได้ผลิตเครื่องมือที่สามารถนำคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในอากาศมาใช้ประโยชน์ในการสื่อสาร และประกาศให้ชาวโลกได้รับทราบเมื่อ ค.ศ. 1885 ผลงานของเขาได้รับการยกย่องเรียกเป็นคลื่นวิทยุ “เฮิร์ส “ ต่อมานักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลีชื่อ Guglielmo Marconi อายุ 21 ปี ได้ค้นคว้าสร้างวิทยุขึ้นสำเร็จ โดยเริ่มส่งคลื่นโดยไม่ต้องใช้สายและนำความคิดในการสร้างคลื่นวิทยุของ”เฮิร์ส”มาใช้ในการดำเนินงานความสนใจจากการค้นคว้าของ Marconi ทำให้ขุนนางผู้หนึ่งชื่อ Lord Kelvin ส่งวิทยุซึ่ง Marconi เป็นผู้คิดค้นจัดตั้งขึ้น ระหว่างเกาะ Wight และ Bornemouth เมื่อปี 1898 และต่อจากนั้นอีกไม่นานก็ได้ใช้วิทยุสื่อสารจาก Kingstown แก่หนังสือพิมพ์ Daily Express ของกรุงดับลิน และต่อมาอีกไม่นาน Duoretet และ Roger ก็ได้ทดลองใช้ติดต่อระหว่างหอ Eiffel และ Panheon ที่กรุงปารีสและในวันที่ 27 มีนาคม 1899 ได้เป็นวันที่จารึกในประวัติศาสตร์ของวงการวิทยุเมื่อ Marconi ทำการส่งวิทยุข้างช่องแคบอังกฤษได้เป็นผลสำเร็จ จากการส่งวิทยุครั้งนี้ทำให้มีการตื่นเต้นกันทั่วอังกฤษและทำให้เขาจดทะเบียนลิขสิทธิ์ทันทีทางด้านเครื่องรับวิทยุในระยะแรกก่อนที่จะใช้ระบบทรานซิสเตอร์นั้นเป็นวิทยุแร่ ซึ่งคล้ายๆกับการใช้ถ่านไฟฉาย คือเมื่อแร่ยังมีกำลังก็สามารถฟังได้ชัดแต่เมื่อคุณภาพของแร่ใกล้หมดลงคุณภาพการรับก็ลดลง คุณภาพเสียงก็เบามาก เครื่องรับแต่ละเครื่องต้องมีเครื่องฟังเสียงครอบหูในระยะแรกแม้ไม่มีคลื่นส่งวิทยุหลายคลื่น แต่ผู้รับก็จำต้องหาคลื่นโดยต้องรับคลื่นตามกระแสลม ซึ่งเป็นปัญหาทางด้านการรับฟังและในปี 1907 ชาวอเมริกันชื่อ ได้คิดสร้างหลอดวิทยุชนิดมีกำลังรับส่งดีขึ้น ทำให้คุณภาพของวิทยุได้เพิ่มประสิทธิภาพขึ้นในเมื่อเครื่องรับเครื่องส่งวิวัฒนาการดีขึ้นเป็นลำดับ การเสนอข่าวและรายการต่างๆก็เพิ่มมากขึ้นเช่นปี 192 ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ถึง 6 มีนาคม สถานีวิทยุ Chelmsford ของอังกฤษได้ออกอากาศในรายการข่าวและดนตรีโดยใช้เวลาครั้งละไม่นาน ในเดือนมิถุนายนสถานีเดียวกันนี้ได้ร่วมกับหนังสือพิมพ์ Daily Mail ถ่ายทอดเพลงจากวงดนตรีดุริยางค์แห่งหนึ่ง และในวันที่ 2 กันยายนปีเดียวกัน วันที่ 7 พฤศจิกายน สถานี K.D.K.A.ของบริษัท Westinghouse ที่เมือง Pittsburgh สหรัฐอเมริกา ได้เปิดการส่งวิทยุกระจายเสียงโดยเร่งกระจายข่าวเกี่ยวกับการเลือกประธานาธิบดี Harding และในปี ค.ศ. 1920 นี้เหมือนกัน รัสเซียก็ได้เริ่มมีสถานีวิทยุ ส่วนฝรั่งเศษนั้นในเดือนกันยายน 1921 ฝรั่งเศษได้ส่งกระจายเสียงทางวิทยุจากสถานีซึ่งตั้งที่หอ Eiffel ทั้งนี้โดยส่งเป็นข่าวสั้นๆต่อมาในปี 1924 สถานวิทยุกระจายเสียงชื่อ Radiola แห่งกรุงปารีส ได้ส่งกระจายเสียงเป็นประจำทุกวัน และการส่งกระจายเสียงเหมือนเป้นการถ่ายทอดเสียงในนอกสถานที่ก็ได้ปรากฏขึ้นเป้นครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 21 มกราคม 1930 ได้มีการถ่ายทอดพระราชดำรัสเปิดประชุมทหารเรือที่ลอนดอน โดยมีพระเจ้ายอร์ชที่ 5 ของอังกฤษเป็นผู้ประทานพระราชดำรัส โดยมีวิทยุกระจายเสียงถึง 242 สถานีเป็นผูถ่ายทอด จากจำนวนวิทยุกระจายเสียง 242 สถานีนั้น เป็นสถานีที่ตั้งอยู่ในยุโรป 125 สถานีส่วนสถานีวิทยุ BCC ( British Broadcast Corparation ) ได้เริ่มส่งกระจายเสียงเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 1922 และได้เป็นแม่แรงสำคัญในการถ่ายทอดพระราชดำรัสเปิดการประชุมทหารเรือที่ลอนดอน ในวันที่ 21 มกราคม 1930 ด้วย

วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ส.3 Mixer คือ


เอาแบบคร่าวๆแล้วกันคับmixer คืออุปกรณ์รวมและสมดุลสัญญาณที่นำมารวมกัน( หน้้าที่ตามชื่อมันน่ะครับ )แต่ก็สามารถดัดแปลงใช้งานได้หลากหลายตามแต่ function ของแต่ละรุ่นครับที่คุณ kookkai ต่อ กีต้าร์ -คีร์บอด ต่อผ่าน mixer ก็เป็นการใช้งานในการควบคุมสัญญาณ (หรือใช้ขยายสัญญาณ ) ก่อนการอัด เป็นการใช้งานที่ไม่ผิดครับ แต่สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ1.ความเหมาะสมกันของความต้านทานขาเข้า(ของ mixer = input impedance,Z) กับความต้านทานขาออก (จาก เครื่องดนตรี = output impedance,Z ) ควรมีค่าที่ใกล้เคียงกันครับinput imprdance ดูได้จาก คู่มือ mixer ส่วน output imprdance ของคีร์บอร์ดก็ดูได้จากคู่มือคีร์บอร์ด ครับ ของกีต้าร์ ส่วนใหญ่ น่าจะเป็น Hi Z ( output impedance สูง ประมาณ 50 กิโลโอมห์)ซึ่งน่จะใกล้เคียงกับช่อง input ของmixer ที่เขียนว่า Hi Z หรือ line in ครับการที่ค้าความต้านทานเหมาะสมกัน จะทำให้การถ่ายทอดสัญญาณมีการสูญเสียน้อยครับ ( power maximum transfer )2.ระดับความแรงของสัญญาณครับ ที่ mixer น่าจะ check ได้ ( ดูจากคู่มือครัับ )ส่วนต้องผ่าน DI ไหมนั้น ถ้าไม่ต่อแล้วได้สัญญาณ ที่มีระดับกำลังดี ไม่มี noise ( เสียงไม่พึงประสงค์ )ก็ไม่จำเป็นต้องต่อ ( มั้งครับ เท่าที่รู้น่ะ ) แต่ DI ก็จะช่วยในการป้องกันไฟรั่วจากเครื่องดนตรีมายังระบบบันทึกเสียงของเรา ( mixer , audio interface ,com. ) ในกรณีที่ DI นั้น สามารถแยก ground ได้( Ground rift )สรุปคือต่อประมาณที่คุณทำก็ โอเคครับ ถ้าตอนอัดได้เสียงอย่างที่คุณต้องการแล้วแต่ถ้ายังไม่ได้ก็อาจต้องมีอุปกร์อื่นๆเพิ่ทเติมบ้าง ยังไงก็ลองอ่านคู่มือดูครับ