วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ส.16 วิธีสมัครสถานนีวิทยุออนไลท์

ใครอยากมีสถานีวิทยุออนไลน์เป็นของตัวเอง มาสมัครใช้ฟรีที่นี่

เรามาดูขั้นตอนการใช้งานสถานีออนไลน์กัน

1.เพื่อนๆ เข้าไปที่ http://www.spufriends.com/

2.และคลิกไปที่แบนเนอร์ เล่นให้มันส์



3.เมื่อเข้าไปสู่หน้าเล่นให้มันส์ สถานีออนไลน์แล้ว ก่อนอื่นเพื่อนๆ ต้องสมัครเข้าใช้สถานีออนไลน์ก่อน โดยคลิกที่ สมัครสมาชิก



4.จากนั้น ให้เพื่อนๆ กรอกรายละเอียดการสมัครทั้งหมดให้ครบถ้วน โดยเฉพาะ username และ password ที่จะใช้ในการ login เข้าไปจัดรายการวิทยุ



5.หลังจากเพื่อนๆ สมัครเรียบร้อยแล้ว ทางผู้ดูแลระบบจะทำการตรวจสอบข้อมูลของเพื่อนๆ ก่อนแล้วทำการอนุมัติเปิดสถานีให้ ภายใน 24 ชม. เมื่อผู้ดูแลระบบอนุมัติเปิดใช้สถานีให้เพื่อนๆ แล้วระบบจะส่ง E-mail ไปแจ้งเพื่อนๆ


6.หลังจากทำการเปิดใช้สถานีออนไลน์แล้ว ให้เพื่อนๆ login เข้ามาจัดการกับสถานีของตนเองได้เลย โดย username และ password ที่ใช้ในการ login ก็คือ username และ password ที่เพื่อนๆ create ไว้ตอนสมัครใช้สถานีในข้อ 4 นั่นแหละ และสามารถ login ได้ที่หน้า http://www.spufriends.com/channel/ ได้เลย



7.จากนั้นเพื่อนๆ จะเข้าสู้ระบบการจัดการสถานีของเพื่อนๆ เองค่ะ เพื่อนๆ ก็เริ่มทำการลงเนื้อหาของสถานีตัวเองได้เลยค่ะ รวมถึงการจัดรายการสดด้วย โดยเพื่อนๆ สามารถอ่านวิธิการจัดรายการได้จากคู่มือการติดตั้งสถานีได้เลย




เป็นอย่างไรกันบ้าง ไม่ยากกันเลยใช่ไหม เพียงเท่านี้เพื่อนๆ ก็มีสถานีวิทยุเป็นของตัวเอง สามารถใช้เป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์ข่าวต่างๆ หรือฝึกฝนการเป็นนักจัดรายการที่ดีได้ในอนาคต แต่ขอให้เพื่อนๆ ใช้ประโยชน์จากสิ่งนี้ในทางสร้างสรรค์นะคะ เพื่อประโยชน์ตัวของเพื่อนๆ เอง

วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553

ส.15 วิธีการเลือกซื้อลำโพง


อะไรที่ควรมองเป็นอย่างแรกเวลาเลือกลำโพง สิ่งแรกที่เราจะพิจรณาถึงการเลือกซื้อลำโพงสักคู่หนึ่งนั้นเราควร ที่จะดูเรื่องอะไรเป็นอย่างแรกเช่น ชอบแนวเพลงแบบไหน รูปลักษณ์ของลำโพงสวยงามขนาดไหนหรือเรื่องราครซึ่งเป็นตัวตัดสินใจที่สำคัญที่สุดในการเลือกลำโพงสำหรับนักเล่นในบ้านเรา ส่วนใหญ่ครับ วัสดุที่ใช้ผลิตลำโพงที่ควรเลือกโดยมากโรงงานผู้ผลิตส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญกับตัวtweeterเป็นหลัก เพราะตัวtweterนั้นเป็นตัวหลักในการตอบสนองต่อสัญญาณความถี่สูง โดยเฉพาะกับลำโพง ค่ายbrand nameทั้งหลาย และโดยมากแล้วคนฟังส่วนใหญ่ก็มักจะให้ความสำคัญและมีความสุขกับการฟังเพลงที่ช่วงความถี่นี้เป็นหลักอีกด้วย โดยที่ตัวdome tweeterนั้นมัจจะใช้ในเครื่องเสียงบ้านเป็นหลักโดยที่ตัวdomeนั้นจะให้แนวกระจายเสียงที่กว้างออกไปตลอกแนวของdome tweeterและสามารถทำขึ้นมาได้ง่ายด้วยการใช้งานแม่แบบ ตัวเดียวกันในการผลิตชิ้นงานขึ้นมาใหม่ทำให้ตัวdomeนั้นมีความคงที่ในการผลิตและเที่ยงตรงสูง โดยที่ส่วนมากตัวtweeterนั้นจะใช้วัสดุประเภท poly และ silk ซะเป็นส่วนใหญ่ เพราะสามารถที่จะทำการปรับปรุ่งการตอบสนองต่อความถี่ในการผลิตได้ง่ายและให้sound ที่มีความ smoot กว่าตัวtweeterแบบกระดาษ ส่วนตัวconeของwooferที่ทำมาจากวัสดุ polypropylene นั้นจะให้เสียงที่มีความ กระชับและชัดเจนกว่า นอกจากนี้ยังสามารถที่จะทนทานต่อความร้อนได้ดีกว่าconeแบบกระดาษอีกด้วย ขอบ surround มี่เป็นยางเป็นตัวเลือกที่ดีที่จะทำให้ได้ลำโพงเสียงbassที่มีความหนักแน่นและสามารถเคลื่อนตัวได้อย่างดีสามารถควบคุมการเคลื่อนที่ขึ้นลงของconeลำโพงๆได้ดีกว่าขอบsurroundที่เป็นfoamหรือกระดาษแบบลำโพงรุ่นเก่า ควรจะเลือกลำโพงแบบไหนถ้าคุณเลือกที่จะติดตั้งเครื่องเสียงรถยนต์แบบประหยัดโดยที่ต้องการใช้ power จากตัวreciver ซึ่งมี power outputที่ต่ำ(มีกำลังwatt ต่ำ) มาเป็นตัวขับลำโพงแล้วละก็คุณก็จำเป็นที่จะต้องหาลำโพงที่มีคุณภาพสูงมาใช้งานดีกว่า(highly-efficient speakers) และถ้าลำโพงต้องขับเสียงที่ดังขึ้นอีก3dBแล้วเราจำเป็นต้องใช้ powerที่ขับกำลังได้มากกว่าตัวreciverแน่นอน ซึ่งอาจจำป็นต้องหาpower ampมาช่วยในการขับลำโพงแทนที่ตัวreciver และหากหาลำโพงที่มีค่า efficiency สูงไม่ได้ก็ไม่ใช่ว่าจะหมดหนทางเสมอไปแต่เพราะว่า ลำโพงที่มีค่า efficiencyต่ำนั้นก็สามารถที่จะให้เสียงที่ดีได้ แต่ลำโพงที่มีค่า efficiencyสูงนั้นสามารถที่จะให้ เสียง deeper bass notes ที่ดีกว่าลำโพงที่มีค่า efficiency ต่ำ และลำโพง low efficiency นั้นน่าจะเหมาะสำหรับคนที่มีเงินทุนค่อนข้างสูงเพราะจำเป็นต้องใช้องค์ประกอบในการขับลำโพงเช่นpower ampที่จำเป็นต้องเพิ่มเข้ามาในระบบหรือ Accessriesที่จำเป็นต้องเพิ่มเข้ามาในระบบเครื่องเสียง โดยส่วนมาก power ที่ออกมาจาก ตัว reciverจะอยู่ที่ 2-5watt RMS ซึ่งไม่สามารถที่จะทำการขับลำโพงที่มีค่า efficien น้อย แต่ถ้าคุณต้องการฟังเสียงดนตรีที่ มีความดังมากกว่าที่ตัวreciverนั้นจะให้ได้ จำเป็นต้องหาpower ampเข้ามาขับลำโพงซึ่งเป็นวิธีที่แน่นอนที่สุด ลำโพง 2-Way, 3-Way และ 4-wayลำโพง2ทางแบบ coaxials เป็นลำโพงที่ตัว tweeterนั้นต่อเชื่อมหรือติดตั้งอยู่กับส่วนconeของลำโพงwoofer แต่ถ้าคุณต้องการรายละเอียดของเสียงร้องและช่วงความถี่midrangeแล้วละก็ลำโพงแบบ3ทาง(triaxial)ดูจะเป็นตัวเลือกที่ดีตัวหนึ่ง เพราะจะเพิ่มตัวmidrangeเข้ามาเพื่อทำให้เสียงที่ได้นั้น ชัดดเจนยิ่งขึ้น ส่วนลำโพงแบบ4ทางนั้นจะเพิ่มตัว super-tweeter เข้ามาอีกตัวหนึ่งลำโพงแบบแยกชิ้น (Component Speakers)จะเป็นการแยกการทำงานและแยกชิ้นส่วนของลำโพงทั้งสองส่วนออกจากกันและสามารถที่จะทำการติดตั้งไว้ตำแหน่งใดก็ได้นอกจากนั้นยังมีตัวตัดแบ่งความถี่มาให้ต่างหากอีกด้วย (crossovers)และที่สำคัญสามารถที่จะทนกำลังขับได้สูงและคุณสามารถที่จะสร้าง stereo imagingได้เพราะคุณสามารถที่จะเลือกวางตำแหน่งของตัวtweeter ไว้ตรงจุดใดก็ได้ที่คิดว่าสามารถให้ stereo image ที่ดีที่สุดได้แต่การติดตั้งลำดพงแบบcomponentนั้นอาจจำเป็นที่จะต้องทำการเจาะตัวถังรถยนต์ในตำแหน่งที่ติดตั้งลำโพง wooferซึ่งก็ไม่พ้นประตูรถยนต์เป็นแน่ แต่หากเป็นวิธีที่ดีที่สุดคือหาลำโพงที่มีขนาดมาตฐานแบบ similarly-sized ซึ่งเป็นลำโพงที่สามารถติดตั้งเข้ากับช่องเดิมของตัวรถยนต์ที่มาจากโรงงานได้อย่างพอดี โดยไม่ต้องเจาะตัวถังรถยนต์ให้เสียหายแนะแนวท้ายบท ถ้าคุณต้องการsoundของดนตรีที่ดีคุณควรเลือกชุดtweeterที่มีชุดติดตั้งแบบปรับองศาได้มาติดตั้งเพราะจะสามารถปรับทิศทางของตัวtweeterไปในตำแหน่งของการฟังที่ดีที่สุดในรถยนต์ของคุณได้ ฉบับนี้ก็ขอจบเรื่องของการเลือกลำโพงแบบพื้นฐานกันเพียงแค่นี้คราวหน้ามาว่ากันด้วยเรื่องราวที่ต่อเนื่องจากเล่มนี้กันต่อครับ

วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2553

ส.14 การต่อลำโพงกับเครื่องขยายเสียง
















การต่อลำโพงกับเครื่องขยายเสียง

เครื่องเสียงนั้นมีด้วยกันหลายประเภท โดยอาจแบ่งตามลักษณะการทำงานได้ดังนี้อุปกรณ์แหล่งสัญญาณเป็นอุปกรณ์ต้นสัญญาณ โดยอาจเป็นแหล่งกำเนิดสัญญาณเอง หรือรับสัญญาณจากคลื่นวิทยุก็ได้ เช่นเครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องเล่นเทปคาสเซ็ต เครื่องเล่นซีดี เครื่องเล่นดีวีดีเครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์, เครื่องรับสัญญาณดาวเทียมอุปกรณ์ปรับแต่งสัญญาณขยายสัญญาณ หรือแปลงสัญญาณ แล้วแต่การใช้งาน เช่นปรีแอมปลิไฟเออร์, เพาเวอร์แอมปลิไฟเออร์, อีควอไลเซอร์, มิกเซอร์, เซอราวด์ซาวด์โปรเซสเซอร์อุปกรณ์กระจายเสียงเป็นส่วนท้ายสุดของระบบเครื่องเสียง เป็นตัวถ่ายทอดผลลัพธ์สุดท้ายออกมา ซึ่งก็คือ ลำโพง นั่นเองอย่างไรก็ตาม ยังมีอุปกรณ์อื่นๆ ในระบบเครื่องเสียงอีกมากมาย เช่น ไมโครโฟน, สายเคเบิล, สายสัญญาณ เป็นต้น

วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2553

ส.13 หน้าที่ของเครื่องขยายเสียง

หน้าที่ของเครื่องขยายเสียง ถ้าเปรียบเทียบ ก็เหมือนกับปั๊มน้ำ คือมีหน้าที่ปั๊มให้น้ำทางด้านอินพุทที่ไหลเข้ามา ออกไปทางด้านเอาท์พุท ด้วยความแรงและเร็ว เช่นเดียวกัน สำหรับเครื่องขยายเสียง มันมีหน้าที่ปั๊มให้กระแสไฟฟ้าที่ไหลเข้ามา ออกไปทางด้านเอาท์พุท ด้วยความแรงและเร็วเครื่องขยายเสียงจะขับดันสัญญาณด้านเอาท์พุท ตามสัญญาณด้านอินพุท เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นเราจะแบ่งวงจรเครื่องขยายเสียงออกเป็น 2 ส่วน วงจรส่วนที่หนึ่งคือ วงจรทางเอาท์พุท ได้รับพลังงานจากแบตเตอรี่ หรือจากแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรง ถ้าเราใช้วิธีเสียบปลั๊กไฟที่บ้าน ไฟที่ได้เป็นไฟกระแสสลับ จะต้องแปลงไฟเป็นไฟตรงก่อนจึงจะป้อนให้กับวงจรเครื่องขยายเสียงได้วงจรส่วนที่สองคือ วงจรอินพุท ซึ่งจะรับสัญญาณไฟฟ้าจากเทปหรือเครื่องเล่นซีดี ดีวีดี แผ่นเสียง และไมโครโฟน สัญญาณที่เข้ามายังเป็นลูกคลื่นลูกเล็กๆ ไม่สามารถนำไปขับออกทางลำโพงได้ อย่างไรก็ตามถ้านำหูฟัง ไปต่อไว้ สามารถได้ยินเสียงเบาๆ แต่เมื่อนำสัญญาณนี้ผ่านเข้าเครื่องขยายเสียงจะถูกขยายให้มีขนาดมากขึ้น สามารถนำไปขับออกทางลำโพงได้

แนวคิดพื้นฐานของเครื่องขยายเสียง สัญญาณไฟฟ้าด้านเข้าจะถูกขยายให้มีขนาดเพิ่มขึ้น ขับออกทางลำโพงสำหรับเครื่องขยายเสียงทั่วๆไป มักจะมีภาคขยายสัญญาณ ก่อนจะเข้าเครื่องขยายเสียง เราเรียกภาคนี้ว่า ภาคปรีแอมป์พลิฟลายเออร์ (Pre- amplifier) ซึ่งจะทำงานเหมือนกับภาคแอมพลิฟลายเออร์ทุกประการเพียงแต่สัญญาณขยายอ่อนกว่า เพื่อไม่ให้ขยายสัญญาณผิดเพี้ยน ดังนันเครื่องขยายเสียงราคาแพง จะมีภาคปรีแอมป์ หลายช่วงก่อนที่จะขยายเสียงออกทางลำโพง ทำให้ได้สัญญาณออกมาแรง และเหมือนกับสัญญาณขาเข้าทุกประการ หรือถ้าปรับแต่ง อาจจะไพเราะกว่าเสียงจริงก็ได้ พวกนักร้องคาราโอเกะนิยมมากทั้งๆที่เสียงขาเข้าอาจจะฟังไม่ค่อยไพเราะนัก แต่พอผ่านการปรับแต่ง กลายเป็นเสียงนักร้องซีดีทองคำก็เป็นได้คุณลองเปิดเข้าไปดูข้างในของเครื่องขยายเสียง คุณจะได้เห็นอุปกรณ์ทางไฟฟ้ามากมายลายตาไปหมด เช่น ตัวเก็บประจุ ตัวต้านทาน และทรานซิสเตอร์ แน่นอนถ้าคุณไม่เข้าใจ คุณจะทึ่ง และตื่นเต้น ว่าทำได้อย่างไร อย่างไรก็ตามถ้าคุณเข้าใจหลักการพื้นฐาน คุณจะเห็นอุปกรณ์เหล่านั้นไม่ได้แตกต่างกับวาวล์ หรือปั๊มน้ำเลย

ภายในเครื่องขยายเสียง คุณจะได้เห็นอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์มากมาย บริเวณที่แสดงลูกศรชี้ เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญสุด เรียกว่าทรานซิสเตอร์ เปรียบเทียบได้กับปั๊มน้ำ ดังนั้นส่วนนี้จึงเกิดความร้อนสูงต้องมีตัวระบายความร้อน ทำด้วยแผ่นโลหะ เรียกว่า ฮีทซ์ซิงค์ (Heat Sink)

วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2553

ส.12 ชนิดของเครื่องเสียง


1.แบบใช้ทรานซิสเตอร์เป็นแบบที่นิยมใช้แบบหนึ่งเพราะเบอร์ของทรานซิสเตอร์ที่จะมาใช้งานมีมาก สามารถเลือกและสามารถออกแบบวงจรได้กว้าง คุณภาพของเสียงดี อัตราขยายสูงและความผิดเพี้ยนต่ำ ปัญหาการซ่อมไม่ยุ่งยาก อะไหล่หาได้ง่ายและแบบดั่งเดิมที่ใช้กันมานาน รู้จักละใช้แพร่หลายทั่วไป จุดเด่นของเครื่องขยายแบบทรานซิสเตอร์ คือสามารถจัดคราสการขยายได้กว้าง เพิ่มอัตราการขยายได้งาย และราคาถูก

2.แบบใช้มอสเฟทเป็นแบบที่เริ่มนำมาใช้ในวงจรขยายกำลังเมื่อไม่นาน ได้รับความนิยมอยู่ช่วงหนึ่ง ในปัจุบันความนิยมในการใช้เพาเวอร์มอสเฟทลดลง ซึ่งอาจเป็นเพราะเพาเวอร์มอสเฟทที่ถูกสร้างมาใช้งานด้านการขยายเสียงมีไม่มากเบอร์ให้เลือกใช้งานน้อย ทำให้การออกแบบวงจร การเพิ่มอัตราขยาย การแก้ไขซ่อมแซมไม่กว้างและหาอะไหล่ยาก แต่มีข้อดีหลายข้อกว่าทรานซิสเตอร์ คืออัตราความผิดเพี้ยนต้ำกว่า สัญญาณรบกวนมีผลต่อการขยายน้อย มีความคงที่ในการทำงานต่ออุณหภมิสูงมาก มีความไวในการขยายสัญญาณสูง สามารถต่ออัตราขยายได้หลายภาค

3.แบบใช้ IC (INTERGRATED AMPLIFIER)เป็นภาคขยายกำลังที่เพิ่ใความนิยมมากขึ้น โดยสร้างอุปกรณ์พวกทรานซิสเตอร์ มอสเฟส รวมอยู่ในตัว IC เพาเวอร์แอมป์ ข้อดีของภาคขยายกำลังแบบ IC คือ ประสิทธิภาพของวงจรขยายสูงกว่ามอสเฟท เพราะมีการต่อวงจรน้อยลงโดยรวมวงจรต่างๆสำเร็จภายในตัว IC เลย ความผิดเพี้ยนที่เกิดขึ้นก็ยิ่งลดลง สามารถเพิ่มระบบควบคุมการทำงานต่างๆได้มากขึ้น ให้การตอบสนองความถี่เสียงดี แต่มีข้อเสียคือการทำให้มีอัตราขยายสูงๆทำได้ยาก อะไหล่ในการซ่อมแซมก็อาจหายากเช่นกัน ดังนั้นการใช้ภาคขยายกำลังแบบ IC จึงใช้ได้ในกำลังปานกลาง ไม่ต้องการอัตราขยายสูงนัก และไม่นำไปใช้งานแบบต่อเนื่องนานๆ

ส.11 อัพเดทลิงค์รายชื่ออ.ในแผนก

วันอาทิตย์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2553

ส.10 ประเภทและหลักการทำงานของเครื่องรับวิทยุ

ประเภทและหลักการทำงานของเครื่องรับวิทยุ

1. เครื่องรับวิทยุแบบแร่ (Crystal Radio )


เครื่องรับวิทยุแบบแร่ ถือเป็นวงจรเบื้องต้นของเครื่องรับวิทยุ สามารถประกอบได้ง่ายที่สุด ราคาถูก ไม่จำเป็นต้องใช้พลังงานไฟฟ้า "free-power" radio

ตัวอย่าง วงจร เครื่องรับวิทยุ AM แบบแร่
เมื่อสายอากาศ และสายดิน ถูกต่อเข้า กับวงจร จะมีสัญญาณไฟฟ้าขนาดเล็ก ๆ ผ่านมายังวงจรจูน (tuned circuit) ที่ประกอบด้วย L1 และ C1 จุดที่เราต้องการเราเรียกว่า resonant frequency เป็นการเลือกรับความถี่ และถ้าเราต้องการที่จะเปลี่ยนความถี่ที่จะรับ เราก็เปลี่ยนค่าของ C1 (วงจร A)
ความถี่ที่เลือกรับมาแล้วนั้น จะถูกส่งมายัง D1 เพื่อทำหน้าที่ detector ไดโอดที่ใช้จะเป็น ที่มีแรงดันตกคร่อมต่ำ ถ้ามองเข้าไปจะเห็นเส้นลวดเล็ก ๆ ฝรั่งเขาเรียกว่า "cat’s whisker" ซึ่งคล้ายหนวดแมว จากคุณสมบัติของไดโอด คือยอมให้กระแสไหลผ่านได้ทางเดียว สัญญาณที่ผ่านวงจรนี้ไปได้ ก็จะมีเพียงแค่ ซึกเดียว (วงจร B) C2 ทำหน้าที่ bypass ความถี่วิทยุลงกราวด์ เหลื่อเฉพาะคลื่นเสียง เท่านั้นที่ผ่านไปยังหูฟังH1 ได้

วิทยุแบบแร่ มีความสามารถในการแยกแยะสัญญาณไม่ดี โดยจะรับสัญญาณเข้ามาทั้งหมด (all AM broadcast signals) สัญญาณความถี่ไหนแรงกว่า ก็จะบดบังสถานีที่มีสัญญาณอ่อน ๆ



2. เครื่องรับวิทยุแบบ Regenerative


3. เครื่องรับแบบ จูนความถี่ TRF (Tuned Radio Frequency Receiver)
เครื่องรับวิทยุแบบแร่ มีประสิทธิภาพการรับสัญญาณ ไม่ดี ไม่มีการขยาย ประสิธิภาพการเลือกรับสัญญาณไม่ดี สัญญาณที่แรง ๆ อยากแทรกแซงเช้ามาได้ จึงมีคนคิดค้นวิทยุแบบ TRF ขึ้นมาแทน ซึ่งมีการรับสัญญาณที่ดีกว่า


TRF receiver แบบจูนครั้งเดียว ใช้กันในสมัยแรก ๆ


เครื่องรับ TRF receiver แบบจูนหลายครั้ง เป็นวงจรที่พัฒนามาจากแบบแรก การจูนแต่ละครั้งจะทำหลังจากภาคขยายในแต่ละส่วน (ใช้วงจร L-C resonant ในการจูน) เครื่องรับแบบนี้นำมาใช้มากในย่าน very low frequency (VLF) หรือ อาจจะเรียกว่า whistler receiver สำหรับการเฝ้าดู solar flares(เพลิงที่ลุกโชติชั่วขณะหนึ่ง บนดวงอาทิตย์ ) และ sudden ionospheric disturbances (SIDs)
ตัวอย่างวงจร เครื่องรับแบบ TRF แบบง่าย ๆ ประกอบด้วย 4 ส่วนพื้นฐาน คือ reception, selection, demodulation, และ reproduction



4.เครื่องรับวิทยุแบบ ซูเปอร์เฮเทอโรดายน์ (Superheterodyne Receiver)
เครื่องรับวิทยุแบบ superheterodyne มีใจความสำคัญอยู่ตรงที่ การเปลี่ยนความถี่ RF ที่รับเข้ามาหลาย ๆ ความถี่เป็น เดียวเป็นค่ากลาง ๆ (intermediate frequency : IF) ความถี่ IF นี้จะสามารถทำให้สูงกว่า (high-side injection) หรือต่ำกว่า (low-side injection) ความถี่ RF ที่รับมาก็ได้ ระบบ superheterodyne ในสมัยแรก ๆ จะทำให้ความถี่ IF สูงกว่า ความถี่ RF แต่ปัจจุบันจะทำให้ความถี่ IF ต่ำกว่า เนื่องจากความถี่ต่ำจะมีความยุ่งยากน้อยกว่า



ยกตัวอย่างเครื่องรับ AM แบบ ซูเปอร์เฮเทอโรดายน์ วงจรที่สำคัญของระบบนี้คือ Local Oscillator และวงจร Mixer สัญญาณ RF จะถูกแปลงเป็นความถี่ IF ค่าตายตัวค่าหนึ่ง โดยทั่วไปวิทยุ AM จะใช้ความถี่ IF เท่ากับ 455 KHz
ในวงจร Mixer จะทำการผสมสัญญาณRF กับสัญญาณจาก Local Oscillator ซึ่งความถี่ทั้งสองนี้จะห่างกันอยู่ เท่ากับ 455 KHz พอดี (ห่างกันเท่ากับความถี่ IF) สมมุติว่าเราต้องการรับสัญญาณวิทยุ AM ที่ความถี่ 1000 KHz วงจรขยาย RF ก็ต้องจูนและขยายความถี่ 1000 KHz เป็นหลัก และยอมให้ความถี่ใกล้เคียงบริเวณ 1000 KHz เข้ามาได้เล็กน้อย การจูนความถี่นอกจากจะจูนภาคขยาย RF แล้วยังจะจูนวงจร Local Oscillator ด้วย (วิทยุ AM แบบใช้มือจูน) ความถี่ของ Local Oscillator จะเท่ากับ 1000 KHz +455 KHz = 1455 KHz พอดี
เมื่อสัญญาณทั้ง RF และจาก Local Oscillator ป้อนเข้ามาที่วงจร Mixer ซึ่งเป็นวงจรที่ทำงานแบบ นอนลิเนียร์ สัญญาณที่ออกมาจะมี่ทั้งสัญญาณผลบวกและผลต่าง เมื่อป้อนให้กับวงจร IF ซึ่งจูนรับความถี่ 455 KHz ดังนั้นสัญญาณผลรวมจะถูกตัดทิ้งไป คงไว้แต่สัญญาณของความถี่ผลต่าง (1455 KHZ - 1000 KHz = 455 KHz)
วงจรขยาย IF ก็คือวงจรขยาย RF ที่จูนความถี่เอาไว้เฉพาะ ที่ความถี่ 455 KHz วงจรขยาย IF อาจจะมีด้วยกันหลายภาค เพื่อให้มีอัตราการขยายสัญญาณที่รับได้สูง ๆ และ การเลือกรับสัญญาณที่ดี เนื่อจาหวงจรนี้ขยายความถี่คงที่จึงทำให้ง่ายต่อการออกแบบ สัญญาณที่ขยายแล้วจะเข้าสู่กระบวนการ Detector เพื่อแยกสัญญาณเสียงออกมา